ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

USA prenatal care & check up! ตั้งครรภ์ในอเมริกา ฝากครรภ์กี่เดือน ควรฝากตอนใหน?



การฝากครรภ์ คืออะไร?

การฝากครรภ์ (Prenatal care) คือ การตรวจสุขภาพเป็นระยะ ตั้งแต่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์จนกระทั่งถึงวันคลอด โดยคุณหมอจะคอยตรวจความเรียบร้อยเกี่ยวกับสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์


สิ่งที่คุณแม่ต้องได้รับการตรวจในช่วงการฝากครรภ์ มีดังนี้

  • ยืนยันการตั้งครรภ์ รวมถึงตรวจอายุครรภ์จากรอบประจำเดือนล่าสุด
  • ซักประวัติ คุณหมอจะถามเรื่องทั่วไป เช่น เคยตั้งครรภ์มาก่อนไหม มีโรคประจำตัวหรือเปล่า ยาที่ใช้ประจำ เป็นต้น
  • ตรวจร่างกาย แบ่งเป็นสองส่วนหลักๆ ส่วนแรกคือตรวจทั่วไป เช่น วัดความดัน ชั่งน้ำหนัก ส่วนสูง ตรวจการทำงานของปอด อีกส่วนคือการตรวจภายใน ซึ่งใช้เวลาสั้นๆ แต่สามารถเช็คความผิดปกติได้ทั้งรังไข่ ท่อนำรังไข่ ช่องคลอด รวมถึงมะเร็งปากมดลูก ที่สำคัญคือไม่เจ็บ
  • ตรวจเลือด เปรียบเสมือนการสกรีนร่างกาย เพราะเลือดสามารถบอกค่าต่างๆ ในร่างกายได้เป็นภาพกว้าง เช่น ไขมัน เบาหวาน ความสมบูรณ์ของเลือด ระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงตรวจการติดเชื้อต่างๆ เช่น เอชไอวี ซิฟิลิส เป็นต้น

การฝากครรภ์ ควรทำตั้งแต่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ และควรฝากกับสูตินรีแพทย์ (Obstetrician) 


การฝากครรภ์แบ่งเป็น 3 ไตรมาส ดังนี้

  • ไตรมาสที่ 1 (First trimester) 1–12 สัปดาห์
  • ไตรมาสที่ 2 (Second trimester) 13–28 สัปดาห์
  • ไตรมาสที่ 3 (Third trimester) 29–40 สัปดาห์

การฝากครรภ์ ต้องไปบ่อยแค่ใหน?

  • อายุครรภ์ 1-32 สัปดาห์ พบแพทย์ทุก 1 เดือน (4 สัปดาห์)
  • อายุครรภ์ 32-36 สัปดาห์ พบแพทย์ทุกครึ่งเดือน (2 สัปดาห์)
  • อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ขึ้นไป พบแพทย์ทุก 1 สัปดาห์

ในอเมริกาแพทย์จะรับฝากครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ (3 เดือน) ขึ้นไป กรณีของเรา คือฝากครรภ์ช้าค่ะ ^^

ทามไลน์คร่าวๆ จากการฝากครรภ์ครั้งที่ 2 ของเรานะค่ะ ซึ่งครั้งนี้ ได้รับการยกเว้นการตรวจร่างกายและรับวัคซีนบางตัวเท่านั้น เนื่องจากมีประวัติการตั้งครรภ์ครั้งแรกกับครั้งที่สองห่างกันไม่เกิน 2 ปี จึงไม่ต้องตรวจแบบเข้มข้นเหมือนการฝากครรภ์ครั้งแรกจร้าา 

ฝากครั้งแรก ไตรมาสที่ 1  (ฝากครรภ์16 สัปดาห์)

เช็คอิน(Check in)

- เจ้าหน้าที่จะถามว่าได้นัดล่วงหน้ามาก่อนมั๊ย
- ชื่อ-นามสกุล ของเรา
- วันเดือนปีเกิด
- สอบประวัติการเจ็บป่วยทั่วไปและประกันสุขภาพ

ส่วนของพยาบาล

- ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
- เก็บปัสสาวะ
- สอบประวัติครอบครัว
- ประจำเดือนวันสุดท้ายเมื่อไหร่
- มียาที่ทานประจำมั๊ย และทานยาบำรุงครรภ์หรือเปล่า
- ตรวจไข้ วัดความดันโลหิต

ส่วนของหมอ 

- สอบถาม ประจำเดือนครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ 
- แพ้ท้องหรือยัง อาการแพ้เป็นยังไงป้าง
- บอกวันกำหนดคลอด และการดูแลตัวเอง
- ฟังคลื่นเสียงหัวใจทารก
- ตรวจภายใน และเก็บเชื้อส่งแล็ปตรวจหาความผิดปกติต่างๆ 

Lap 

- เจาะเลือด 5 หลอด 

*เช็คผลตรวจในแอปของโรงพยาบาล ซึ่งจะเป็นศัพท์ทางการแพทย์ เราอ่านได้ แต่ไม่รู้ว่ามันหมายความว่าอย่างไร 

เช็คเอาต์ (Check out): ทำการนัดครั้งต่อไป 

ครั้งที่ 2 ไตรมาสที่ 2 (20 สัปดาห์)

เช็คอิน(Check in)

- แจ้งนามสกุล วันเดือนปีเกิด
- สอบประวัติการเจ็บป่วยทั่วไปและประกันสุขภาพ หน้างานคร่าวๆ เช่น มีไข้มั๊ย ฯลฯ

ส่วนของพยาบาล

- ชั่งน้ำหนัก 
- ตรวจวัดไข้ วัดความดัน ดื่มเหล้า สูบบุหรี่มั๊ย มีโรคประจำตัวหรือเปล่า 
- มีคำถามหรือความกังวลใจอะไรหรือเปล่า

ส่วนของหมอ

- พูดคุย สอบถามอาการต่างๆ เช่น ยังแพ้ท้องอยู่มั๊ย รู้สึกเด็กดิ้นหรือยัง 
- ฟังคลื่นเสียงหัวใจทารก
- หากมีคำถามหรือข้อกังวลใจอะไร ก็ถามหมอได้เลยนะค่ะ (คุณหมอที่อเมริกาจะเป็นกันเองมากๆ ส่วนมากคุณหมอกับเราจะคุยเรื่องอาหารการกินมากกว่า 555) 

Lap 

- ตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์รอบคัดกรองด้วย 50 กรัม (Glucose Challenge Test)

- เจาะเลือดตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์ 1 หลอด
- อัลตราซาวด์ (100 ภาพ)


**ผลตรวจคัดกรองเบาหวานไม่ผ่าน นัดตรวจรอบ 3 ชั่วโมง ใน 1 สัปดาห์

เช็คเอาต์ (Check out): ทำการนัดครั้งต่อไป  และนัดตรวจเบาหวานรอบวินิจฉัย (ทางโทรศัพท์ในวันถัดไป หลังจากที่รู้ผลว่า “ไม่ผ่าน”)

ครั้งที่ 3 ตรวจนอกรอบ (21 สัปดาห์): ตรวจเบาหวานรอบวินิจฉัย

Lapตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์รอบวินิจฉัยด้วย 100 กรัม (Oral Glucose Tolerance Test)

เช็คอินโรงพยาบาล 7. 20 นาที


เจาะเลือด 7.30 หลังจากนั้น พยาบาลให้ดื่มกลูโคส 100 ml ให้หมดภายใน 5 นาที 



(1) ผลตรวจเลือดก่อนดื่มกลูโคส 

(2) ผลตรวจเลือดหลังจากดื่มกลูโคส 1 ชั่วโมง 

(3) ผลตรวจเลือดหลังจากดื่มกลูโคส 2 ชั่วโมง 

(4) ผลตรวจเลือดหลังจากดื่มกลูโคส 3 ชั่วโมง 

**หลังจากตรวจเสร็จ (ระหว่างทางขับรถกลับบ้านเอง) ผู้ช่วยคุณหมอประจำตัวโทรตาม เพราะผลตรวจเบาหวานครั้งที่ 3 ต่ำมากๆๆ “คุณหมอกลัวว่าเราจะเป็นลมและมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วย จึงให้ผู้ช่วยโทรฯมมาสอบถามอาการ แนะนำให้กินอาหารและนอนพักผ่อนเยอะๆ หากมีอาการวิงเวียน คลื่นไส้ ให้โทรฯ หาหมอทันที” 

ครั้งที่ 4 ไตรมาสที่ 2 (23 สัปดาห์)

เช็คอิน(Check in)

- แจ้งชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด
- สอบประวัติการเจ็บป่วยทั่วไปและประกันสุขภาพคร่าวๆ 

ส่วนของพยาบาล

- ชั่งน้ำหนัก 
- ตรวจไข้ วัดความดัน ดื่มเหล้า สูบบุหรี่มั๊ย มีโรคประจำตัวหรือเปล่า (พยาบาลจะถามคำถามเดิมๆ ทุกครั้ง ตามแบบฟอร์ม และบันทึกข้อมูลอัพเดรตใหม่ทุกครั้ง) 

ส่วนของหมอ

- พูดคุย สอบถามอาการต่างๆ เช็ควัคซีนที่เราต้องได้รับในขณะตั้งครรภ์ เช่น ไข้หวัดใหญ่ โควิด บาดทะยัก เป็นต้น
- ฟังคลื่นเสียงหัวใจทารก
- วัดความยาวของท้อง

Lap: ไม่มี

เช็คเอาต์(Check out): ทำการนัดครั้งต่อไป 

ครั้งที่ 5 ไตรมาสที่ 3 (27 สัปดาห์)

เช็คอิน (Check in)

- แจ้งชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด
- สอบประวัติการเจ็บป่วยทั่วไปและประกันสุขภาพคร่าวๆ  ถามประกันสุขภาพอันเดิมหรือเปล่า เรายื่นบัตรใหม่ให้เจ้าหน้าที่อัพเดรตให้ เจ้าหน้าที่จะถ่ายเอกสารไว้และคืนบัตรจริงให้เราค่ะ

ส่วนของพยาบาล

- ชั่งน้ำหนัก 
- ตรวจวัดไข้ วัดความดัน
- ถามอาการ(ท้อง) คร่าวๆ 

ส่วนของหมอ

- พูดคุย สอบถาม เด็กดิ้นดีมั๊ย ทานข้าวได้เยอะมั๊ย นอนหลับสบายหรือเปล่า หรือหลับยากมั๊ย 
- ฟังคลื่นเสียงหัวใจทารก
- วัดความยาวของท้อง

Lap 

- รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบ B (HVB; Hepatitis B) 
- ตรวจเบาหวานรอบที่ 3 กลูโคส 50 กรัม รอเจาะเลือด 1 ชั่วโมง 


* เนื่องจากผลตรวจเบาหวานรอบแรกสูง (187) แต่รอบที่สองปกติสองครั้งและต่ำมากๆ (48) หนึ่งครั้ง จึงต้องตรวจซ้ำเพื่อความชัวร์ ว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือไม่ 

** สามีแอบสงสารกลัวลูกในท้องกับภรรยาเป็นเบาหวานเพราะดื่มกลูโคสหลายครั้งเกิน 555

*** สรุป หมอให้ทดลองตรวจน้ำตาล 14 วัน หากเจาะตรวจน้ำตาลแล้วเกินมาตรฐาน จะต้องตรวจเจาะตรวจพร้อมรายงานผลน้ำตาลทุกวัน จนกว่าจะคลอด และหากภายใน 14 วัน ไม่เกินมาตรฐานก็ให้หยุดตรวจเองเลย 

**** ตรวจเบาหวาน 4 ครั้ง/วัน
       - ก่อนอาหารเช้า 80-94 กรัม
       - หลังอาหารเช้า 1 ชั่วโมง 90-139 กรัม
       - หลังอาหารเที่ยง 1 ชั่วโมง 90-139 กรัม
       - หลังอาหารเย็น 1 ชั่วโมง 90-139 กรัม

เครื่องมือตรวจวัดเบาหวาน

เช็คเอาต์ (Checkout): ทำการนัดครั้งต่อไป 

ครั้งที่ 6 ไตรมาสที่ 3 (31 สัปดาห์)

เช็คอิน (Check in)

- ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด
- สอบประวัติการเจ็บป่วยทั่วไปและประกันสุขภาพคร่าวๆ

ส่วนของพยาบาล

- ชั่งน้ำหนัก 
- ตรวจวัดไข้ วัดความดัน
- รอพบคุณหมอ

ส่วนของหมอ

- พูดคุย สอบถามอาการๆ เช่น เด็กน้อยดิ้นเก่งมั๊ย คลื่นใส้ อาเจียน อาการปวดตามร่างกาย กรดไหลย้อน และจะผ่าคลอดหรือคลอดธรรมชาติ (ทำหมันหลังตลอดด้วยมั๊ย)


- ฟังคลื่นเสียงหัวใจทารก
- วัดความยาวของท้อง

ปล. ต้องได้รับอัลตร้าซาวด์ก่อนคลอด เนื่องจาก 32 สัปดาห์แล้ว

เช็คเอาต์ (Check out): ทำการนัดครั้งต่อไป พบหมอ ทุก 2 อาทิตย์ (2 ครั้ง)


ครั้งที่ 7 ไตรมาสที่ 3 (32 สัปดาห์) อัลตราซาวด์ ก่อนคลอด 

เช็คอิน (Check in)

- ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด
- สอบประวัติการเจ็บป่วยทั่วไปและประกันสุขภาพ

Lap อัลตราซาวด์ ก่อนคลอด ใช้เวลาประมาณ 30 นาที 

เช็คเอาต์ (Check out): ทำการนัดครั้งต่อไป 

ครั้งที่ 8 ไตรมาสที่ 3 (34 สัปดาห์)

เช็คอิน (Check in)

- ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด
- สอบประวัติการเจ็บป่วยทั่วไปและประกันสุขภาพ

ส่วนของพยาบาล

- ชั่งน้ำหนัก 
- ตรวจไข้ วัดความดัน
- สอบถามการใช้ยา

ส่วนของหมอ

- พูดคุย สอบถามทารกดิ้นดีมั๊ย อาการเจ็บหลอก วางแผนการคลอด (ธรรมชาติหรือผ่าคลอด) 
- ฟังคลื่นเสียงหัวใจทารก
- วัดความยาวของท้อง

เช็คเอาต์ (Check out): ทำการนัดครั้งต่อไป พบหมอทุกๆ สัปดาห์ (4 ครั้ง)

ครั้งที่ 9 ไตรมาสที่ 3 (36 สัปดาห์)

เช็คอิน (Check in)

- ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด 
- สอบประวัติการเจ็บป่วยทั่วไปและประกันสุขภาพ

ส่วนของพยาบาล

- ชั่งน้ำหนัก 
- ตรวจไข้ วัดความดัน

ส่วนของหมอ

- พูดคุย สอบถามอาการต่างๆ ทารกดิ้นดีมั๊ย 
- ตรวจภายใน เก็บตัวอย่างช่องคลอดไปตรวจ หากเกิดการติดเชื้อช่องคลอดเปิด 1 เซนติเมตร ทารกกลับหัวแล้ว แต่ยังอยู่สูงจากปากช่องคลอด

- ฟังคลื่นเสียงหัวใจทารก
- วัดความยาวของท้อง

Lap เจาะเลือด ตรวจธาตุเหล็ก (Iron) เนื่องจากมีอาการวิงเวียนศรีษะ หน้ามืด เป็นบางครั้ง

#สรุปหลังการตรวจ เป็นโรคโลหิตจาง ต้องเสริมยาธาตุเหล็ก วันละ 1 เม็ด 

เช็คเอาต์ (Check out): ทำการนัดครั้งต่อไป 

ครั้งที่ 10 ไตรมาสที่ 3 (37 สัปดาห์)

เช็คอิน (Check in)

- ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด 
- สอบประวัติการเจ็บป่วยทั่วไปและประกันสุขภาพ

ส่วนของพยาบาล

- ชั่งน้ำหนัก 
- ตรวจไข้ วัดความดัน

ส่วนของหมอ

- พูดคุย สอบถามอาการต่างๆ ทารกดิ้นดีมั๊ย กำหนดวันคลอดคร่าวๆ หลัง 39 สัปดาห์ หรือจะรอให้เป็นไปตามธรรมชาติ คุณหมอให้ตัดสินใจภายในอาทิตย์หน้าค่ะ
- ตรวจภายใน ทารกกลับหัวแล้ว ช่องคลอดเปิด 2 เซนติเมตร
- ฟังคลื่นเสียงหัวใจทารก
- วัดความยาวของท้อง

เช็คเอาต์ (Check out): ทำการนัดครั้งต่อไป 

ครั้งที่ 11 ไตรมาสที่ 3 (38 สัปดาห์)

เช็คอิน (Check in)

- ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด 
- สอบประวัติการเจ็บป่วยทั่วไปและประกันสุขภาพ

ส่วนของพยาบาล

- ชั่งน้ำหนัก 
- ตรวจไข้ วัดความดัน

ส่วนของหมอ

- พูดคุย สอบถามอาการต่างๆ 
- ฟังคลื่นเสียงหัวใจทารก
- วัดความยาวของท้อง
ตรวจภายใน ทารกกลับหัวแล้ว ช่องคลอดยังคงเปิดแค่ 2 เซนติเมตร
กำหนดวันคลอด ถามความสมัครใจ (39 สัปดาห์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 40 สัปดาห์) คุณหมอให้เราเลือกวันคลอดหรือหมอจะเลือกวันที่ทีมคุณหมอสะดวกให้เราเองค่ะ
- แผนการคลอดของเรา เตรียมไว้ 2 แบบ คือ ลองคลอดธรรมชาติก่อนและผ่าคลอด (เผื่อไว้หากมีปัญหา) เพราะก่อนหน้านี้ เราผ่าคลอดค่ะ 

เช็คเอาต์ (Check out): ทำการนัดครั้งต่อไป 

ครั้งที่ 12 ไตรมาสที่ 3 (39 สัปดาห์)

เช็คอิน (Check in)

- ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด
- สอบประวัติการเจ็บป่วยทั่วไปและประกันสุขภาพ

ส่วนของพยาบาล

- ชั่งน้ำหนัก 
- ตรวจไข้ วัดความดัน

ส่วนของหมอ

- พูดคุย สอบถามอาการต่างๆ 
- ฟังคลื่นเสียงหัวใจทารก
- วัดความยาวของท้อง
- ตรวจภายใน ช่องคลอดเปิดประมาณ 2.5 เซนติเมตร
- กำหนดวันคลอด เตรียมทีมทำคลอด ห้องคลอด ห้องพักฟื้น อย่างแน่นอน 

ไม่ต้องเช็คเอาต์ (Check out): นัดวันคลอดเรียบร้อยแล้ว

เราคลอดเมื่ออายุครรภ์ 39 สัปดาห์ 3 วัน ..คลอดเอง บล็อกหลัง! จากประสบการณ์ฝากครรภ์และคลอดธรรมชาติที่อเมริกา เรารู้สึกประหนึ่งว่า “เข้าพักในโรงแรมมีดาวหลายดวงเลยก็ว่าได้” พนักงาน คุณหมอ บริการดีเกินร้อย ทุกระดับประทับใจค่ะ ^^

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานเรื่อง “เจ้าหญิงบนยอดเขาแก้ว” (The Princess On The Glass hill)

Long, long time ago, there lived a farmer who had three sons and forty acres of fields. But every year on mid-summers, every last plant on his land was eaten. The farmer sent his three sons out to guard the field the next year. ลอง, ลอง ไทม์ อะโก, แธร์ ลิฟ-ดึด อะ ฟาร์มเมอ ฮู แฮด ตรี ซัน แอนด์ ฟอร์ตี้ เอเคอร์ ออฟ ฟิล์ด. บัท เอเวอรี่ เยียร์ ออน มิด-ซัมเมอร์, เอเวอรี่ ลาสท์ แพลนท์ ออน ฮีส แลนด์ วอส อีท-ทีน. เดอะ ฟาร์มเมอ เซนท์ ฮีส ตรี ซัน เอาซ์ ทู การ์ด เดอะ ฟิล์ด เดอะ เน็ทซ์ เยียร์. กาลครั้งหนึ่งเมื่อนานมาแล้ว, ชาวนาคนหนึ่ง เค้ามีลูกชายอยู่ด้วยกันสามคน และชาวนามีที่ทำกินสี่สิบเอเคอร์ (ประมาณร้อยกว่าไร่). แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงกลางฤดูร้อนของทุกๆ ปี, ผลผลิตในไร่ของเค้าก็มักจะถูกทำลายเสียหายเรื่อยมา. ดังนั้น ชาวนาจึงได้ส่งลูกชายทั้งสามคนของเค้า ให้ออกไปเฝ้าดูแลผลผลิตในไร่. The oldest son, Barty, was very tall and very thin.  The middle son, Otis, was very fat and lazy.  That night he heard a scream and ran from the field. เดอะ โอลด์เดสท์ ซัน, บาร์ตี๊, วอส เวรี่ ทอล แอนด์ เวรี่ ธิน....

นิทานเรื่อง เพื่อนรักต่างพันธุ์ (A Special Friendship)

In a village, there was a boy named “Bob” who lived with his mother in a small house. Every day after class, Bob went into the forest to pick up woods with his mother. อิน อะ วิลเลจ, แธร์ วอส อะ บอย เนม-มึด “ป๊อบ” ฮู ลิฟ-ดึด วิธ ฮีส ม๊าเตอร์ อิน อะ สมอลล์ เฮาส์. เอฟเวอรี่ เดย์ อาฟเตอร์ คลาส, ป๊อบ เว็นท์ อินทู เดอะ ฟอเรสท์ ทู พิค อัฟ วูดส์ วิธ ฮิส ม๊าเตอร์. ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง, มีเด็กชายคนหนึ่ง เค้ามีชื่อว่า “ป๊อบ” เขาได้อาศัยอยู่กับมารดาในบ้านหลังน้อยๆ หลังหนึ่ง. ในทุกๆ วัน หลังจากเลิกเรียนแล้ว, ป๊อบมักจะเข้าไปในป่า เพื่อหาฟืนกับแม่ของเค้า. One day, on the way to the forest, Bob found a homeless puppy by the road. He looked so sad and miserable. Seeing how hungry the puppy was, Bob decided to bring him home to take care of him. วัน เดย์, ออน เดอะ เวย์ ทู เดอะ ฟอเรสท์, ป๊อบ ฟาวด์ อะ โฮมเลส พัพพี่ บาย เดอะ โรด. ฮี ลุ๊ค โซ แซด แอนด์ มิสราเบิ้ล. ซียิ้ง ฮาว ฮังกรี เดอะ พัพพี่ วอส, ป๊อบ ดีซาย-ดึด ทู บริง ฮิม โฮม ทู เทค แคร์ ออฟ ฮิม. อยู่มาวันนึง, ในระหว่างทางเดินเข้าไปในป่านั้น, ป๊อบได้เจอกั...

นิทานสองภาษาเรื่อง “เจ้าป่าจอมตะกละและกระต่ายป่าผู้ชาญฉลาด (The lion and the hare)

Once upon a time, there was a dense forest, where had lots of animals and birds living it. วันซ์ อัพพอน อะ ไทม์, แธร์ วอส อะ เดนส์ ฟอร์เรส, แวร์ แฮด ลอท ออฟ แอนนิมอล แอนด์ เบิร์ด ลิฟวิ่ง อิท. กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว, มีป่าหนาทึบอยู่แห่งหนึ่ง, ที่ซึ่งเต็มไปด้วยสัตว์ป่าและนกต่างๆ นานาชนิด อาศัยอยู่ในนั้น. All the animals and birds lived in perfect harmony. No bigger animal or bird ever killed a smaller one for food. ออล เดอะ แอนนิมอล แอนด์ เบิร์ด ลิฟต์-ดึด อิน เพอเฟคท์ ฮาร์มโมนี่. โน บิ๊กเกอร์ แอนนิมอล ออร์ เบิร์ด เอฟเวอร์ คิว-ดึด อะ สมอลเลอร์ วัน ฟอร์ ฟู๊ด. เหล่าสัตว์ป่าและนกนานาชนิด ต่างอาศัยอยู่ด้วยกันอย่างผาสุข. ไม่มีสัตว์ใหญ่นักล่าไล่ฆ่าสัตว์ตัวเล็กๆ เป็นอาหารเลย หรือแม้กระทั่งพวกนกนักฆ่าเอง ก็ไม่ล่าอาหารเช่นกัน. However, there was one exception, and that was the king of the jungle- an evil lion. The lion hunted around the forest at all times and killed animals for food. ฮาวเอฟเวอร์, แธร์ วอส วัน เอ็กเซ็บชั่น, แอนด์ แธท วอส เดอะ คิง ออฟ เดอะ จังเกิ้ล- อัน อีวิ้ว ไลออน. เดอะ ไลออน ฮัน...

ชิลี่ (Classic Chili) อเมริกัน จานเผ็ด!

ชิลี่ (Chili) อาหารสุดคลาสสิคจานเผ็ดจานด่วนของชาวอเมริกัน  หรือเรียกเต็มๆ ยศว่า “อเมริกันชิลี่ (American Chili)”  “ชิลี่” (Chili) แปลง่ายๆ ตรงๆ ว่า "พริก" นี่แหละจร้าา ไม่ต้องโต๊ด!   “ชิลี่” เป็นอาหารจานหนึ่งของชาวอเมริกัน ที่มีรสเผ็ดนำ โดดเด่น เผ็ดดุ สำหรับฝรั่งเท่านั้นนะจ๊ะ ไม่นับคนเอเชียอย่างเราๆ หึหึ เผ็ดอนุบาลยังเรียกน้องจ๊ะ! “ชิลี่” มีลักษณะคล้ายๆ กับ “น้ำพริกอ่อง” บ้านเรา ต่างกันตรงที่มี “เมล็ดถั่วแดง” เป็นส่วนผสม ต้มให้นุ่ม แต่ไม่เปื่อยยุ่ยมากนัก มีรสเผ็ดออกมันๆ อมเปรี้ยวนิดๆ โปรตีนเน้นๆ อ่ะ! เริ่มงงกันแล้วสิ ชิมิ ^^ “ชิลี่” นิยมทำเป็นอาหารมื้อค่ำ เพราะว่าสะดวก วัถตุดิบหาง่าย ทำง่าย ใช้เวลาตุ๋นไม่นาน “หัวหอมใหญ่” สิ่งเดียวเท่านั้นที่ต้องเตรียม! “ชิลี่” ท๊อปปิ้งสุดฮิต เพื่อเพิ่มความอร่อยมากยิ่งขึ้น เชดดาร์ชีสขูดฝอย (shredded cheddar cheese) ซาวครีม/ครีมเปรี้ยว (sour cream) ต้นหอมซอย (sliced green onions) แครกเกอร์ชนิดเค็ม (saltine crackers) อะโวคาโดหั่นลูกเต๋า (diced avocado) หลังจากแกะสูตรจากพี่กลู (กลูเกิ้ล) ฝึกทำ “ชิลี่” ลองผิดลองถูกมาก็หลายครั้งหลายคราว จน...